ประวัติความเป็นมาบริษัท
- 2566
- 2565
- 2564
- 2563
- 2562
- 2561
- 2560
- 2559
- 2558
- 2557
- 2556
- 2555
- 2554
- 2553
- 2552
- 2551
- 2550
- 2549
- 2548
- 2547
- 2546
- 2545
- 2544
- 2543
- 2542
- 2541
- 2539-2540
- 2538
- 2535-2536
- 2534
- 2533
- 2530-2532
- 2530
- 2529
- 2527
- 2524
- 2523
- 2522
-
2566
ธุรกิจข้าว
ปี 2566 สถานการณ์ตลาดทั่วโลกฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(COVID-19) ที่ทางภาครัฐได้มีนโยบายในการกระตุ้นเศรฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันในปี 2566 นี้ก็เกิดสภาวะภัยแล้งและการประกาศระงับการส่งออกของประเทศอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ของโลก ทำให้ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนจึง ส่งผลกระทบต่อทั้ง supply chain นอกจากนั้นจากสถานการณ์ภาพรวมของเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศลดลง ทำให้ภาพรวมในธุรกิจข้าวภายในประเทศได้มีอัตราการเติบโตน้อยมากแต่ไม่ได้ถดถอยรุนแรง เนื่องจากสินค้าข้าวยังเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค นอกจากนั้นอัตราค่าน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลต่อค่าขนส่ง ดังนั้นการแข่งขันทางด้านราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดจึงเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันสถานการณ์ราคาขายของข้าวขาวในปี 2566 เพิ่มสูงขึ้นจาก Demand ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ตลาดในกลุ่มข้าวขาวหดตัวลง แต่กลุ่มข้าวหอมมะลิและกลุ่มข้าวหอมเติบโตขึ้นจากราคาสินค้าที่เกิดการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ นโยบายการลงทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา จึงยังเป็นปัจจัยในการสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละผู้ประกอบการ
ทำให้บริษัทฯ กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง ทั้งในเรื่องแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ แผนการขาย กลยุทธ์ทางด้านราคา ความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของนโยบายการเป็น Food Solutions ให้ผู้บริโภคนั้น ทาง PRG ได้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าทางด้านอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน โดยมุ่งใช้ประสิทธิภาพทางด้านการขายและการตลาดในช่องทางหลักที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลให้มากที่สุด โดยเน้นที่ภาพลักษณ์ของสินค้าคุณภาพสูงที่จัดจำหน่ายภายใต้การดำเนินงานและตราสินค้า “ข้าวมาบุญครอง” และ “มาบุญครอง พลัส” ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ภายใต้การดำเนินงานของ MBK GROUP ในส่วนของการดำเนินงานด้านการขายได้มีการกำหนดช่องทางเป็น 2 ช่องทางหลักคือ ภายในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้
การขายภายในประเทศ แบ่งช่องการจำหน่ายเป็น 4 ช่องทาง
- ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งหมด ได้แก่ โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี, ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต, แม็กซ์แวลู, 7-eleven, ร้านสะดวกซื้อ (Convenience stores) เป็นต้น
- ช่องทางค้าส่งและค้าปลีกทั่วไป (Traditional Trade) ประกอบด้วย ร้านค้าส่ง และร้าน โชห่วยทั่วประเทศ
- ช่องทางบริการด้านขายตรง (HORECA) ประกอบด้วย โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ที่ให้การจัดการบริการอาหารต่างๆ (Food Service) ฯลฯ
- ช่องทาง Online ประกอบด้วยช่องทางขายบน E-commerce ต่างๆ และ บน Line OA ของ บริษัท
การขายต่างประเทศ เพิ่มการขายในกลุ่มลูกค้าแบบตู้รวมสินค้าหรือ ONE STOP SERVICE มากขึ้นเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า HORECA และยังมีการขายสินค้าที่ไม่ใช่ข้าวแบบเต็มตู้ด้วย เพื่อช่วยลูกค้าในการหาสินค้าใหม่ๆ แบ่งพื้นที่การขายเป็น 4 ส่วน
- ยุโรป และอเมริกา
- เอเชีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง
- แอฟริกา
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะด้านแปซิฟิก
ช่องทางการกระจายสินค้าจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
- กระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทฯ ที่จังหวัดปทุมธานี สุราษฎร์ธานี และนครราชสีมา
- กระจายสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้ซื้อโดยตรง เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าขนส่ง
ธุรกิจ OEM
รับจ้างผลิต Original Equipment Manufacturer (OEM) โดยมีการรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้าให้กับธุรกิจห้างค้าปลีกและหน่วยงานต่างๆ สำหรับจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ และในปี 2565 ได้มีการเพิ่มกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ เช่น Rice Snacks มากขึ้น ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการคุณภาพที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อผลิตสินค้าขายทั้งในประเทศและส่งออกด้วย ในปี 2566 ทางฝ่ายขายก็ได้มุ่งเน้นลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่เป็นพิเศษ และมีแผนการ ขยายตลาดสินค้า Rural Products
ธุรกิจศูนย์อาหาร
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK และศูนย์อาหาร SAMYAN Food Legends ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พี อาร์ จี ฟู้ด ไอส์แลนด์ จำกัด (PRG-FI) จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท จากเดิมคือ บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด ไอแลนด์ จำกัด (MBK-FI) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565
โดยมีการดำเนินงานให้บริการศูนย์อาหาร ทั้งหมด 3 สาขา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและศูนย์การค้าที่เป็นที่รู้จัก สามารถเข้าถึงได้ด้วยรถไฟฟ้า BTS และ MRT รวมถึงการขนส่งสาธารณะอื่นๆ โดยตั้งอยู่บนชั้น 6 ศูนย์การค้า MBK Center ชั้น 4 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ และโครงการ Siam Premium Outlets Bangkok ทั้งนี้ได้ยุติการบริหารงานศูนย์อาหาร OASIS EATERY ร่วมกับสยามพิวรรธน์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เนื่องจากสถานการณ์จำนวนผู้เข้าใช้บริการของโครงการโครงการ Siam Premium Outlets Bangkok ไม่เป็นไปตามคาดการณ์
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK และศูนย์อาหาร SAMYAN Food Legends มีฐานมาจากแนวคิด “Capital Street Food of Bangkok” ซึ่งรวบรวมร้านค้าชื่อดังในระดับตำนาน ที่มีความหลากหลาย สด สะอาด ราคาย่อมเยา โดยร้านค้าที่ได้รับการคัดสรรเป็นร้านค้า ที่อยู่ในกระแสที่ได้รับการยอมรับ และได้รับรางวัลในด้านอาหารจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อตอบสนองการให้บริการให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าของศูนย์การค้า ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
นอกจากนี้ยังคงรักษาระดับการให้บริการ การหมุนเวียนพันธมิตรร้านค้าและร้านอร่อยระดับตำนานที่ได้รับรางวัลอาหารในด้านต่างๆ อย่างเช่น ร้านหลีเจ็กตง, เวียตคูซีน, เฟื่องฟู, ตั๊กกระเพราถาดยักษ์, เซ็งซิมอี๊ เป็นต้น ร้านอร่อยติดลมบนที่เป็นร้านที่มีกลุ่มลูกค้าประจำและดึงดูดความสนใจด้วยชื่อเสียงความอร่อย อย่างเช่น Eat Pot, ข้าวมันไก่ซิ่วลั้ง, ราดหน้า 40 ปี เป็นต้น และร้านของทานเล่นรสดีที่คัดสรรคุณภาพและเอกลักษณ์ เข้ามาให้บริการตลอดทั้งปี 2566 เพื่อเพิ่มความหลากหลายที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
ปี 2566 ที่ผ่านมา แม้ว่าผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดบรรเทาลงจากปี 2565 กลุ่มลูกค้าหลัก เช่น พนักงานออฟฟิศยังคงมีการสลับ Work From Home นักเรียน/นักศึกษายังคงมีการเรียนช่องทางออนไลน์ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเริ่มกลับมาใช้บริการ พบว่าสถานการณ์จำนวนผู้เข้าใช้บริการหลักโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังไม่มากเพียงพอต่อการอยู่รอดของร้านค้าในศูนย์อาหารบางสาขา ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องยุติการบริหารงานโครงการ OASIS EATERY ซึ่งบริหารงานร่วมกับสยามพิวรรธน์ลงในปลายไตรมาสที่ 2
อย่างไรก็ดี ในปี 2566 ครึ่งปีหลัง สถานการณ์จำนวนผู้เข้าใช้บริการและการใช้จ่ายต่อหัวศูนย์อาหาร Food Legends by MBK และ SAMYAN Food Legends โดยเฉพาะสาขา MBK ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นผลมาจากผู้เข้าใช้บริการประเภทออฟฟิศ ที่ใช้บริการตามปกติในช่วงวันธรรมดา นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติเข้าใช้บริการในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดยาว และฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) สำหรับสาขา SYFL จำนวนผู้เข้าใช้บริการสอดคล้องตามช่วงหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดยาว และวันเปิด-ปิดภาคการศึกษา ทั้งนี้บริษัท พี อาร์ จี ฟู้ด ไอส์แลนด์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารศูนย์อาหารทั้ง 2 สาขา ได้มีการปรับเปลี่ยนร้านอร่อยมีคุณภาพ เพื่อดึงดูดผู้เข้าใช้บริการ เพิ่มความหลากหลาย บริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบและการดำเนินงาน พร้อมกับผลักดันยอดขายเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มกำไรอย่างต่อเนื่อง
ธุรกิจพัฒนาทรัพย์สิน
บริษัทฯ ได้มีนโยบายพัฒนาทรัพย์สิน โดยมีการพัฒนาที่ดินของคลังสินค้าปทุมธานี พื้นที่ 85 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นโครงการริเวอร์เดล มารีน่า ท่าเรือยอร์ชริมแม่น้ำเจ้าพระยาระดับ เอ คลาส ครบวงจรแห่งแรกของแม่น้ำเจ้าพระยา ลงทุนพัฒนาและให้เช่าพื้นที่โครงการโดยบริษัท พี อาร์ จี พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด และจัดตั้ง บริษัท ริเวอร์เดล มารีน่า จำกัด (PRG-RM) เป็น ผู้บริหารธุรกิจท่าเรือ ซึ่งประกอบด้วย ท่าจอดเรือสปีดโบ๊ท เรือยอร์ช เจ็ทสกี พื้นที่ให้เช่าเก็บเรือ โชว์รูมเรือ ศูนย์ซ่อมบำรุงเรือ และศูนย์รวมสินค้าอุปกรณ์และบริการเกี่ยวกับเรือ กีฬาทางน้ำ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Riverdale District ซึ่งมีแผนงานระยะยาวประมาณ 10 ปี
บริษัท ริเวอร์เดล มารีน่า จำกัด (PRG-RM) ดำเนินธุรกิจรับจ้างบริหารงานในโครงการริเวอร์เดล มารีน่า ซึ่งได้เปิดให้บริการท่าเรือยอร์ชริมแม่น้ำเจ้าพระยาระดับ เอ คลาส ครบวงจร ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ซึ่งได้รับความการตอบรับเป็นที่น่าพอใจ มีผู้สนใจนำเรือเข้ามาฝากจอด และใช้บริการท่าเรือเป็นไปตามคาดหมาย ในปี 2566 ได้เปิดให้บริการปั๊มน้ำมันสำหรับเรือที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2566 อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำ ให้บริการเช่าเรือท่องเที่ยว ตามแผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำของหน่วยงานราชการ รวมถึงพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าเพื่อโชว์รูมเรือ ศูนย์ซ่อมบำรุงเรือ สถานที่จัดงาน Event บนพื้นที่กว่า 6,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ ในปี 2567 มีแผนที่จะเปิดให้บริหารร้านอาหาร ภายในโครงการริเวิอร์เดล มารีน่า เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริหารในโครงการมากขึ้น
ธุรกิจโลจิสติกส์
ในปี 2566 ธุรกิจโลจิสติกส์ของกลุ่มบริษัท PRG ได้มีการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์โดยมีการพัฒนาระบบ Warehouse Management (WMS) และระบบ Transportation Management (TMS) ให้ทันสมัยขึ้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า รวมถึงการกระจายสินค้าให้แก่กลุ่มบริษัท PRG และรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต
บริษัท มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
เดือนเมษายน มีมติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 ที่สำคัญให้ดำเนินการ ดังนี้
- การลดทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 874,970,249 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวน 694,970,249 บาท โดยการตัดหุ้นสามัญจดทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระจำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท
- การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 694,970,249 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 874,970,249 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท เพื่อรองรับการเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.15 ของทุนชำระแล้ว เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น
- แก้ไขข้อบังคับ ข้อบังคับของบริษัท หมวดที่ 5 กรรมการ ข้อ 26. และ ข้อ 27. หมวดที่ 6 การประชุมผู้ถือหุ้น ข้อ 34. และ ข้อ 35. เพื่อให้สอดคล้องกับสอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565
เดือนพฤศจิกายน มีมติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ที่สำคัญให้ดำเนินการ ดังนี้
- การลดทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 874,970,249 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวน 694,970,249 บาท โดยการตัดหุ้นสามัญ จดทะเบียน ที่ยังไม่ได้ชำระจำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท
- การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 694,970,249 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 694,980,249 บาท โดยการออกหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 694,980,249 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 894,980,249 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 200,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวนไม่เกิน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท เพื่อรองรับการปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ PRG-W3
- จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวนไม่เกิน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท เพื่อรองรับการปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ PRG-W3 จากการจ่ายปันผลระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้น
- เนื่องจากปัจจุบันมีหุ้นรองรับการปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ PRG-W1 และ PRG-W2 เพียงพอแล้ว จึงไม่ต้องจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท เพื่อรองรับการเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 200,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.85 ของทุนชำระแล้ว เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น
-
2565
ธุรกิจข้าว
ปี 2565 สถานการณ์ตลาดทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) แต่มีแนวโน้มในการฟื้นตัว โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง ที่ทางภาครัฐได้มีนโยบายในการกระตุ้นเศรฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันในปี 2565 นี้ก็เกิดสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อ supply chain ในหลายๆด้านและเศรษฐกิจของโลก ซึ่งส่งผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคและ Lifestyle ที่เปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบเหล่านี้ทำให้ภาพรวมในธุรกิจข้าวภายในประเทศได้มีอัตราการเติบโตไม่มีอัตราการเติบโตแต่ไม่ได้ถดถอยรุนแรงเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น เนื่องจาก สินค้าข้าวยังเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค แต่ในภาคของตลาดต่างประเทศนั้น ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในบางช่วง จากสภาวะค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อัตราค่าน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลต่อค่าขนส่งทั้งภายในและต่างประเทศ ดังนั้นการแข่งขันทางด้านราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศจึงเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันสถานการณ์ราคาขายของข้าวหอมมะลิลดต่ำลง ในปี 2565 ทำให้ตลาดในกลุ่มข้าวหอมมะลิและกลุ่มข้าวหอมเติบโตขึ้นจากราคาสินค้าที่เกิดการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ นโยบายการลงทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา จึงยังเป็นปัจจัยในการสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละผู้ประกอบการ
ทำให้บริษัทฯ กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง ทั้งในเรื่องแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ แผนการขาย กลยุทธ์ทางด้านราคา การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของนโยบายการเป็น Food Solutions ให้ผู้บริโภคนั้น ทาง PRG ได้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าทางด้านอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน โดยมุ่งใช้ประสิทธิภาพทางด้านการขายและการตลาดในช่องทางหลักที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลให้มากที่สุด โดยเน้นที่ภาพลักษณ์ของสินค้าคุณภาพสูงที่จัดจำหน่ายภายใต้การดำเนินงานและตราสินค้า “ข้าวมาบุญครอง” และ “มาบุญครอง พลัส” ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ภายใต้การดำเนินงานของ MBK GROUP ในส่วนของการดำเนินงานด้านการขายได้มีการกำหนดช่องทางเป็น 2 ช่องทางหลักคือ ภายในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้
การขายภายในประเทศ แบ่งช่องการจำหน่ายเป็น 4 ช่องทาง
- ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งหมด ได้แก่ โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี, ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต, แม็กซ์แวลู, 7-eleven, ร้านสะดวกซื้อ (Convenience stores) เป็นต้น
- ช่องทางค้าส่งและค้าปลีกทั่วไป (Traditional Trade) ประกอบด้วย ร้านค้าส่ง และร้านโชห่วยทั่วประเทศ
- ช่องทางบริการด้านขายตรง (HORECA) ประกอบด้วย โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ที่ให้การจัดการบริการอาหารต่างๆ (Food Service) ฯลฯ
- ช่องทาง Online ประกอบด้วยช่องทางขายบน E-commerce ต่างๆ และ บน Line OA ของ บริษัท
การขายต่างประเทศ เพิ่มการขายในกลุ่มลูกค้าแบบตู้รวมสินค้าหรือ ONE STOP SERVICE มากขึ้นเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า HORECA และยังมีการขายสินค้าที่ไม่ใช่ข้าวแบบเต็มตู้ด้วย เพื่อช่วยลูกค้าในการหาสินค้าใหม่ๆ แบ่งพื้นที่การขายเป็น 4 ส่วน
- ยุโรป และอเมริกา
- เอเชีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง
- แอฟริกา
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะด้านแปซิฟิก
ช่องทางการกระจายสินค้าจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
- กระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทฯ ที่จังหวัดปทุมธานี สุราษฎร์ธานี และนครราชสีมา
- กระจายสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้ซื้อโดยตรง เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าขนส่ง
ธุรกิจ OEM
รับจ้างผลิต Original Equipment Manufacturer (OEM) โดยมีการรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้าให้กับธุรกิจห้างค้าปลีกและหน่วยงานต่างๆ สำหรับจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ และในปี 2565 ได้มีการเพิ่มกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ เช่น Rice Snacks มากขึ้น ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการคุณภาพที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อผลิตสินค้าขายทั้งในประเทศและส่งออกด้วย ในปี 2566 ทางฝ่ายขายก็ได้มุ่งเน้นลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่เป็นพิเศษ และมีแผนการต่อยอดจากสินค้า Unbranded ในชนิดที่ขายดี มาเป็นสินค้า Own Branded เพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น โดยเริ่มจากพื้นที่ในภาคอีสานก่อน มุ่งเน้นขายให้กลุ่มลูกค้า Traditional และห้างท้องถิ่น
ธุรกิจศูนย์อาหาร
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK และศูนย์อาหาร OASIS EATERY ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พี อาร์ จี ฟู้ด ไอส์แลนด์ จำกัด (PRG-FI) จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท จากเดิมคือ บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด ไอแลนด์ จำกัด (MBK-FI) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565
โดยมีการดำเนินงานให้บริการศูนย์อาหาร ทั้งหมด 4 สาขา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและศูนย์การค้าที่เป็นที่รู้จัก สามารถเข้าถึงได้ด้วยรถไฟฟ้า BTS และ MRT รวมถึงการขนส่งสาธารณะอื่นๆ ตั้งอยู่บนชั้น 6 ศูนย์การค้า MBK Center ชั้น 4 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ชั้น 1 ศูนย์การค้า เดอะ ไนนท์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ และ โครงการ Siam Premium Outlets Bangkok ทั้งนี้ ศูนย์อาหารอิ่มจัง ที่ตั้งอยู่บนชั้น G ศูนย์การค้า MBK Center ได้มีการยุติการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 ปี 2565
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK และศูนย์อาหาร OASIS EATERY มีฐานมาจากแนวคิด “Capital Street Food of Bangkok” ซึ่งรวบรวมร้านค้าชื่อดังในระดับตำนาน ที่มีความหลากหลาย สด สะอาด ราคาย่อมเยา โดยร้านค้าที่ได้รับการคัดสรรเป็นร้านค้า ที่อยู่ในกระแสที่ได้รับการยอมรับ และได้รับรางวัลในด้านอาหารจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อตอบสนองการให้บริการให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าของศูนย์การค้า ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
นอกจากนี้ยังคงรักษาระดับการให้บริการ การหมุนเวียนพันธมิตรร้านค้าและร้านอร่อยระดับตำนานที่ได้รับรางวัลอาหารในด้านต่างๆ อย่างเช่น ร้านสี่แยกฮ่องกง, ข้าวมันไก่ 2 สี, ก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋นบ้านไก่ทอง, Chutney, เซ็งซิมอี๊ เป็นต้น ร้านอร่อยติดลมบนที่เป็นร้านที่มีกลุ่มลูกค้าประจำและดึงดูดความสนใจด้วยชื่อเสียงความอร่อย อย่างเช่น Eat Pot, ข้าวมันไก่ซิ่วลั้ง, ราดหน้า 40 ปี เป็นต้น และร้านของทานเล่นรสดีที่คัดสรรคุณภาพและเอกลักษณ์ เข้ามาให้บริการตลอดทั้งปี 2565 เพื่อเพิ่มความหลากหลายที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
ปี 2565 ที่ผ่านมา ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ส่งผลให้จำเป็นต้องยุติการดำเนินงานศูนย์อาหารอิ่มจังในไตรมาสที่ 1 อย่างไรก็ดี สถานการณ์ จากผลกระทบดังกล่าวที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังส่งผลให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถกลับเข้ามาใช้บริการได้ตามปกติ PRG-FI ในฐานะผู้บริหารศูนย์อาหาร Food Legends by MBK ได้ดำเนินการปรับปรุงภาพลักษณ์ศูนย์อาหาร เพื่อรองรับการกลับเข้ามาใช้บริการ รวมถึงการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค หลังยุควิกฤตงเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลให้มีการใช้จ่ายต่อหัวที่เพิ่มขึ้นตลอดครึ่งปีหลัง และได้เปิดให้บริการศูนย์อาหารเพิ่มขึ้น 1 สาขาในไตรมาสที่ 3 ภายใต้การบริหารงานร่วมกับสยามพิวรรธน์ในชื่อ OASIS EATERY
ธุรกิจพัฒนาทรัพย์สิน
บริษัทฯ ได้มีนโยบายพัฒนาทรัพย์สิน โดยมีการพัฒนาที่ดินของคลังสินค้าปทุมธานี พื้นที่ 77 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นโครงการริเวอร์เดล มารีน่า ท่าเรือยอร์ชริมแม่น้ำเจ้าพระยาระดับ เอ คลาส ครบวงจรแห่งแรกของแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พี อาร์ จี พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ซึ่งประกอบด้วย ท่าจอดเรือสปีดโบ๊ท เรือยอร์ช เจ็ทสกี พื้นที่ให้เช่าเก็บเรือ โชว์รูมเรือ ศูนย์ซ่อมบำรุงเรือ และศูนย์รวมสินค้าอุปกรณ์และบริการเกี่ยวกับเรือ ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่จัดงาน Event บนพื้นที่กว่า 6,000 ตร.ม. และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Riverdale District ซึ่งมีแผนงานระยะยาวประมาณ 10 ปี
ในปี 2565 ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ริเวอร์เดล มารีน่า จำกัด เพื่อบริหารจัดการธุรกิจท่าเรือในโครงการริเวอร์เดล มารีน่า ซึ่งได้เปิดให้บริการท่าเทียบเรือ, พื้นที่ให้เช่าเก็บเรือ การให้บริการเกี่ยวกับเรือ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ซึ่งได้รับความการตอบรับเป็นที่น่าพอใจ มีผู้สนใจนำเรือเข้ามาฝากจอด และใช้บริการท่าเรือเป็นไปตามคาดหมาย และจะเปิดให้บริการปั๊มน้ำมันสำหรับเรือ ภายในต้นปี 2566 อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำ ให้บริการเช่าเรือท่องเที่ยว ตามแผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำของหน่วยงานราชการ
สำหรับพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าเพื่อโชว์รูมเรือ ศูนย์ซ่อมบำรุงเรือ ร้านอาหาร สถานที่จัดงาน Event บนพื้นที่กว่า 6,000 ตร.ม. และ Marina Plaza ศูนย์รวมสรรพสิ่งเกี่ยวกับเรือ จะเปิดให้บริการในปี 2566
ธุรกิจโลจิสติกส์
ในปี 2565 ธุรกิจโลจิสติกส์ของกลุ่มบริษัท PRG ได้มีการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์โดยมีการพัฒนาระบบ Warehouse Management (WMS) และ ระบบ Transportation Management(TMS) ให้ทันสมัยขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้ารวมถึงการกระจายสินค้าให้แก่กลุ่มบริษัท PRG และรองรับการขยายธุรกิจเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าภายนอกในอนาคตตามเป้าหมายของธุรกิจ
บริษัท มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
- วันที่ 21 มกราคม 2565 บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด จดทะเบียนลดทุนจากเดิม ทุน 350,000,000 บาท ลดลง 262,500,000 บาท โดยการลดหุ้นบุริมสิทธิ 2,625,000 หุ้น ทำให้มีทุนจดะเบียน 87,500,000 บาท
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด เซอร์วิส จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท พี อาร์ จี ฟู้ด เซอร์วิส จำกัด
- วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 บริษัท อินโนฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พี อาร์ จี โกลบอล จำกัด
- วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 บริษัท เอ็ม บี เค เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด จดทะเบียนลดทุนจากเดิมทุน 16,875,000 บาท ลดลง 11,875,000 บาท โดยการลดหุ้นสามัญ 168,750 หุ้น ทำให้มีทุน จดทะเบียน 5,000,000 บาท
- วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 บริษัท เอ็ม บี เค เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พี อาร์ จี ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด
- วันที่ 3 มีนาคม 2565 บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้าวมาบุญครอง จำกัด
- วันที่ 28 มีนาคม 2565 บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด ไอแลนด์ จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท พี อาร์ จี ฟู้ด ไอส์แลนด์ จำกัด
- เดือนเมษายน มีมติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 ที่สำคัญให้ดำเนินการ ดังนี้
- การลดทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 810,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวน 630,000,000 บาท โดยการตัดหุ้นสามัญจดทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระจำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท
- การเสนอขายหรือจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 2 (PRG-W2) จํานวนไม่เกิน 31,499,528 หน่วย เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยไม่คิดมูลค่า (ศูนย์บาท) โดยมีอัตราการจัดสรรเท่ากับ 20 หุ้นต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ (ในการคำนวณสิทธิที่จะได้รับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิของผู้ถือหุ้นแต่ละรายนั้น หากเกิดเศษจากการคำนวณตามอัตราการจัดสรรให้ปัดเศษนั้นทิ้ง) โดยใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ และมีอัตราการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น ที่ราคา 5 บาท (“ราคาใช้สิทธิ”)
- การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 630,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 661,847,555 บาท โดยการออกหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 31,847,555 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 661,847,555 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 841,847,555 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวนไม่เกิน 31,847,555 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้ 1 บาท เพื่อรองรับการปรับสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ PRG-W1 และการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ PRG-W2 ซึ่งจะออกให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท เพื่อรองรับการเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.15 ของทุนชำระแล้ว เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น
- 28 มิถุนายน 2565 บริษัท ข้าวมาบุญครอง จำกัด จดทะเบียนลดทุนจากเดิม 87,500,000 บาท ลดลง 65,625,000 บาท โดยการลดหุ้นบุริมสิทธิ 375,000 หุ้น และหุ้นสามัญ281,250 ทำให้มีทุนจดทะเบียน 21,875,000 บาท
- เดือนพฤศจิกายน มีมติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ที่สำคัญให้ดำเนินการ ดังนี้
- การลดทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 841,847,555 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวน 661,847,555 บาท โดยการตัดหุ้นสามัญ จดทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระจำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท
- การเสนอขายหรือจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 3 (PRG-W3) จํานวนไม่เกิน 33,072,439 หน่วย เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยไม่คิดมูลค่า (ศูนย์บาท) โดยมีอัตราการจัดสรรเท่ากับ 20 หุ้นต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ (ในการคำนวณสิทธิที่จะได้รับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิของผู้ถือหุ้นแต่ละรายนั้น หากเกิดเศษจากการคำนวณตามอัตราการจัดสรรให้ปัดเศษนั้นทิ้ง) โดยใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ และมีอัตราการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น ที่ราคา 5 บาท (“ราคาใช้สิทธิ”)
- การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 600,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 630,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 33,122,694 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 694,970,249 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 847,970,249 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวนไม่เกิน 33,122,694 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท เพื่อรองรับการปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ PRG-W1 และ PRG-W2 และการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญตามใบสําคัญแสดงสิทธิ PRG-W3 ซึ่งจะออกให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท เพื่อรองรับการเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27.33 ของทุนชำระแล้ว เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น
- วันที่ 7 ธันวาคม 2565 จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท สีมา แอสเซท จำกัด ทุนจดทะเบียน 5,000,000 บาท ประกอบธุรกิจ ซื้อขายสังหาริมทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ โอน รับโอนสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้า
- วันที่ 23 ธันวาคม 2565 บริษัท สีมา แอสเซท จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียน 13,000,000 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียน 18,000,000 บาท
-
2564
ธุรกิจข้าว
ปี 2564 ที่ผ่านมาธุรกิจข้าวมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
ปี 2564 วิกฤตโควิด-19 ยังคงระบาดไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคและ Lifestyle ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ทำให้ภาพรวมในธุรกิจข้าวภายในประเทศไม่ได้มีอัตราการเติบโต แต่ก็ไม่ได้ถดถอยรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น เนื่องจาก สินค้าข้าวยังเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค แต่ในภาคของตลาดต่างประเทศนั้นปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยลดลงกว่าปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้า การชะลอการส่งมอบสินค้าในแต่ละท่าเรือ การปิดท่าเรือบางประเทศจากสถานการณ์ COVID ระบาด ทำให้จำนวนตู้สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการและกำหนดการเดินเรือที่มี การเปลี่ยนแปลงตามสภาพการของการระบายสินค้าในแต่ละท่า ส่งผลให้อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงมากขึ้น ดังนั้น ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจึงลดต่ำลง เป็นอย่างมาก จากการส่งออกที่ลดลงทำให้ผู้ส่งออกและกลุ่มโรงสีต้องหันมาทำตลาดภายในประเทศมากขึ้น ดังนั้นการแข่งขันทางด้านราคาจึงเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันสถานการณ์ราคาข้าวหอมมะลิลดต่ำลงกว่าปี 2563 จากการส่งออกที่ลดลง ทำให้ตลาดในกลุ่มข้าวหอมมะลิและกลุ่มข้าวหอมเติบโตขึ้นจากราคาสินค้าที่เกิดการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ นโยบายการลงทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา จึงเป็นปัจจัยในการสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละผู้ประกอบการ ทำให้บริษัทกำหนดแผนการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง ทั้งในเรื่องแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ แผนการขาย กลยุทธ์ทางด้านราคา การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของนโยบายการเป็น Food Solutions ให้ผู้บริโภคนั้น ทาง PRG ได้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าทางด้านอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน โดยมุ่งใช้ประสิทธิภาพทางด้านการขายและการตลาดในช่องทางหลักที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลให้มากที่สุด โดยเน้นที่ภาพลักษณ์ของสินค้าคุณภาพสูงที่จัดจำหน่ายภายใต้การดำเนินงานและตราสินค้า “ข้าวมาบุญครอง” และ “มาบุญครอง พลัส” ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ภายใต้การดำเนินงานของ MBK GROUP ในส่วนของการดำเนินงานด้านการขายได้มีการกำหนดช่องทางเป็น 2 ช่องทางหลักคือ ภายในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้
การขายภายในประเทศ แบ่งช่องการจำหน่ายเป็น 4 ช่องทาง
- ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งหมด ได้แก่ โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี, ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต, แม็กซ์แวลู, 7-eleven, ร้านสะดวกซื้อ (Convenience stores) เป็นต้น
- ช่องทางค้าส่งและค้าปลีกทั่วไป (Traditional Trade) ประกอบด้วย ร้านค้าส่ง และร้าน โชห่วยทั่วประเทศ
- ช่องทางบริการด้านขายตรง (HORECA) ประกอบด้วย โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ที่ให้การจัดการบริการอาหารต่างๆ (Food Service) ฯลฯ
- ช่องทางรับจ้างผลิต Original Equipment Manufacturer (OEM) โดยทำการรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้าให้กับธุรกิจห้างค้าปลีกและหน่วยงานต่างๆ สำหรับจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ
การขายต่างประเทศ แบ่งพื้นที่การขายเป็น 4 ส่วน
- ยุโรป และอเมริกา
- เอเชีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง
- แอฟริกา
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะด้านแปซิฟิก
ช่องทางการกระจายสินค้าจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
- กระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทฯ ที่จังหวัดปทุมธานี สุราษฎร์ธานี และนครราชสีมา
- กระจายสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้ซื้อโดยตรง เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าขนส่ง
ธุรกิจศูนย์อาหาร
นอกจากธุรกิจผลิตและจำหน่ายข้าวสารแล้ว ทางบริษัทยังประกอบธุรกิจด้านศูนย์อาหาร มีรายละเอียดดังนี้
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK และศูนย์อาหารอิ่มจัง ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด ไอแลนด์ จำกัด (“MBK-FI”) มีทั้งหมด 4 สาขา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและศูนย์การค้าที่เป็นที่รู้จัก สามารถเข้าถึงได้ด้วยรถไฟฟ้า BTS และ MRT รวมถึงการขนส่งสาธารณะอื่นๆ โดยตั้งอยู่บนชั้น 6 และ ชั้น G ศูนย์การค้า MBK Center ชั้น 4 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ และชั้น 1 ศูนย์การค้า เดอะ ไนนท์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK มีฐานมาจากแนวคิด “Capital Street Food of Bangkok” ซึ่งรวบรวมร้านค้าชื่อดังในระดับตำนาน ที่มีความหลากหลาย สด สะอาด ราคาย่อมเยาว์ โดยร้านค้าที่ได้รับการคัดสรรเป็นร้านค้า ที่อยู่ในกระแสที่ได้รับการยอมรับ และได้รับรางวัลในด้านอาหารจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อตอบสนองการให้บริการให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าของศูนย์การค้า ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
ในขณะที่ศูนย์อาหารอิ่มจังมุ่งเน้นไปที่แนวคิด “อร่อยหลากหลาย สบายกระเป๋า” เป็นศูนย์อาหารที่รวบรวมร้านอร่อย สะอาด ราคาเป็นมิตร เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานและผู้เช่าภายในศูนย์การค้า MBK Center
ปี 2564 ที่ผ่านมา MBK-FI ได้เปิดให้บริการศูนย์อาหาร Food Legends by MBK เพิ่มอีก 1 สาขา โดยตั้งอยู่บนชั้น 1 ศูนย์การค้า เดอะ ไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้าดังกล่าว โดยปรับเปลี่ยนโฉมศูนย์อาหารให้มีความแตกต่างจากศูนย์อาหารทั่วไป นอกจากจะตอบโจทย์ความอร่อยระดับตำนานแล้ว Food Legends by MBK ยังเลือกที่จะตอบโจทย์ ด้วยภาพลักษณ์ที่เหนือระดับกว่าด้วยภูมิทัศน์สนามกอล์ฟและรูปลักษณ์ที่สร้างสุนทรียภาพในการ นั่งรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังคงรักษาระดับการให้บริการและการหมุนเวียนพันธมิตรร้านค้าและร้านอร่อยระดับตำนานที่ได้รับรางวัลอาหารในด้านต่างๆ อย่างเช่น สี่แยกฮ่องกง ข้าวมันไก่ 2 สี เซ็งซิมอี๊ เป็นต้น ร้านอร่อยติดลมบนที่เป็นร้านที่มีกลุ่มลูกค้าประจำและดึงดูดความสนใจด้วยชื่อเสียงความอร่อย อย่างเช่น Eat Pot ข้าวมันไก่ซิ่วลั้ง ราดหน้า 40 ปี เป็นต้น และร้านของทานเล่นรสดีที่คัดสรรคุณภาพและเอกลักษณ์ เข้ามาให้บริการตลอดทั้งปี 2563 เพื่อเพิ่มความหลากหลายที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
ธุรกิจพัฒนาทรัพย์สิน
บริษัทฯ ได้มีนโยบายพัฒนาทรัพย์สิน โดยมีการพัฒนาที่ดินของคลังสินค้าปทุมธานี พื้นที่ 77 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นโครงการริเวอร์เดล มารีน่า ท่าเรือยอร์ชริมแม่น้ำเจ้าพระยาระดับ เอ-คลาส ครบวงจรแห่งแรกของแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พี อาร์ จี พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ซึ่งประกอบด้วย ท่าเรือริเวอร์ยอร์ช พื้นที่ให้เช่าเก็บเรือ โชว์รูมเรือ ศูนย์ซ่อมบำรุงเรือ และศูนย์รวมสินค้าอุปกรณ์และบริการเกี่ยวกับเรือ ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา Marina Plaza Multi Purpose Hall รวมถึงโครงการ Residential ในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Riverdale District ซึ่งมีแผนงานระยะยาวประมาณ 10 ปี และจากการประชาสัมพันธ์โครงการ ได้รับความสนใจจากเจ้าของเรือ ธุรกิจใน
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเรือ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก รวมถึงได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากทางภาครัฐอีกด้วย โดยจะเปิดให้บริการท่าเรือ การบริการเกี่ยวกับเรือต่างๆ ในปี 2565
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นภายในบริษัทย่อย บริษัทร่วม ในปีที่ผ่านมา
- บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (MBK-FE) ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50,000,000 บาท เป็น 350,000,000 บาท เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
- บริษัท ราชสีมาไรซ์ จำกัด (RR) ได้มีการลดทุนจดทะเบียนจาก 300,000,000 บาท เป็น 75,000,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวน 225,000,000 บาท เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564
- เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 บริษัทดำเนินจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท จากเดิม บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท พี อาร์ จี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)โดยยังคงใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ตามเดิมคือ “PRG” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับภาพธุรกิจในปัจจุบัน และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัท
- บริษัท เอ็ม บี เค เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (MBK-RG) ลดทุนจดทะเบียนจาก 270,000,000 บาท เป็น 67,500,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ์ จำนวน 202,500,000 บาท เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564
- บริษัท เอ็ม บี เค เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (MBK-RG) ลดทุนจดทะเบียนจาก 67,500,000 บาท เป็น 16,875,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้นสามัญ จำนวน 50,625,000 บาท เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564
- บริษัท สีมาแพค จำกัด (SMP) เปลี่ยนชื่อบริษัทจาก เป็น บริษัท พี อาร์ จี โลจิสติกส์ จำกัด เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า
- เดือนตุลาคม มีมติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ที่สำตัญให้ดำเนินการ ดังนี้
- การลดทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 900,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวน 600,000,000 บาท โดยการตัดหุ้นสามัญ จดทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระจำนวน 300,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท
- การเสนอขายหรือจัดสรรใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 1 (PRG-W1) จํานวนไม่เกิน 30,000,000 หน่วย เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยไม่คิดมูลค่า (ศูนย์บาท) โดยมีอัตราการจัดสรรเท่ากับ 20 หุ้นต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ (ในการคำนวณสิทธิที่จะได้รับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิของผู้ถือหุ้นแต่ละรายนั้น หากเกิดเศษจากการคำนวณตามอัตราการจัดสรรให้ปัดเศษนั้นทิ้ง) โดยใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ และมีอัตราการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น ที่ราคา 5 บาท (“ราคาใช้สิทธิ”)
- การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 600,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 630,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 30,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 600,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 780,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวนไม่เกิน 30,000,000 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้ 1 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญตามใบสําคัญแสดงสิทธิ PRG-W1 ซึ่งจะออกให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น
- การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท เพื่อรองรับการเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.00 ของทุนชำระแล้ว เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับอำนาจ ในการควบคุมบริษัทในปีที่ผ่านมา
-ไม่มี-
-
2563
ธุรกิจข้าว
ปี 2563 ที่ผ่านมาธุรกิจข้าวมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
ปี 2563 เกิดวิกฤตโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภค Lifestyle ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ทำให้ภาพรวมในธุรกิจข้าวภายในประเทศไม่ได้มีอัตราการเติบโตแต่ก็ไม่ได้ถดถอยเหมือนอย่างธุรกิจอื่น เนื่องจาก สินค้าข้าวยังเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค แต่ในภาคของตลาดต่างประเทศนั้นปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยลดลงกว่า ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากวัตถุดิบข้าวขาวที่เป็นสินค้าหลักในการส่งออกสามารถเก็บเกี่ยวได้น้อยจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคากับคู่แข่งในตลาดโลกได้ นอกจากนั้นในช่วงปลายปีเกิดภาวะ ขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้าทำให้อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงมากขึ้น ดังนั้น ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจึงลดต่ำลงกว่าปี 2562 เป็นอย่างมากจากการส่งออกที่ลดลงทำให้ผู้ส่งออกต้องหันมาทำตลาดภายในประเทศมากขึ้น ดังนั้นการแข่งขันทางด้านราคาจึงเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การตื่นตัวของผู้ประกอบการเพื่อรองรับวิกฤต ได้มีการปรับกลยุทธ์ เพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขัน และความต้องการของตลาด อาทิเช่น การเพิ่มกลุ่มข้าวหอมผสม เพื่อรองรับกำลังซื้อของผู้บริโภค นโยบายการลงทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา จะเป็นปัจจัยในการสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละผู้ประกอบการทำให้บริษัทกำหนดแผนการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง ทั้งในเรื่องแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ แผนการขาย กลยุทธ์ทางด้านราคา การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของนโยบายการเป็น Food Solutions ให้ผู้บริโภคนั้น ทาง บริษัทได้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าทางด้านอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน โดยมุ่งใช้ประสิทธิภาพทางด้านการขายและการตลาดในช่องทางหลักที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลให้มากที่สุด โดยเน้นที่ ภาพลักษณ์ของสินค้าคุณภาพที่จัดจำหน่ายภายใต้การดำเนินงานและตราสินค้า “ข้าวมาบุญครอง” และ “มาบุญครอง พลัส” ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ภายใต้การดำเนินงานของ MBK GROUP ในส่วนของการดำเนินงานด้านการขายได้มีการกำหนดช่องทางเป็น 2 ช่องทางหลักคือ ภายในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้
การขายภายในประเทศ แบ่งช่องการจำหน่ายเป็น 4 ช่องทาง
- ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งหมด ได้แก่ เทสโก้โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี,
ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต, แม็กซ์แวลู, 7-eleven, ร้านสะดวกซื้อ (Convenience stores) เป็นต้น - ช่องทางค้าส่งและค้าปลีกทั่วไป (Traditional Trade) ประกอบด้วย ร้านค้าส่ง และร้าน โชห่วย ทั่วประเทศ
- ช่องทางบริการด้านขายตรง (HORECA) ประกอบด้วย โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงงานอุตสาหกรรม
ผู้ที่ให้การจัดการบริการอาหารต่างๆ (Food Service) ฯลฯ - ช่องทางรับจ้างผลิต Original Equipment Manufacturer (OEM) โดยทำการรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้าให้กับธุรกิจ
ห้างค้าปลีกและหน่วยงานต่างๆ สำหรับจำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ
การขายต่างประเทศ แบ่งพื้นที่การขายเป็น 4 ส่วน
- ยุโรป และอเมริกา
- เอเชีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง
- แอฟริกา
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะด้านแปซิฟิก
ช่องทางการกระจายสินค้าจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
- กระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทฯที่จังหวัด ปทุมธานี สุราษฎร์ธานี และนครราชสีมา
- กระจายสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้ซื้อโดยตรง เพื่อเป็นการลด ต้นทุนค่าขนส่ง
นอกเหนือจากธุรกิจให้เช่าอาคารคลังสินค้าในพื้นที่ปทุมธานี ทางบริษัทได้มีนโยบายพัฒนาที่ดินปทุมธานีพื้นที่ประมาณ 77 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นโครงการ Riverdale Marina ซึ่งประกอบด้วย ท่าเทียบเรือยอร์ช โกดังให้เช่าเก็บเรือ ร้านอาหาร Multi Purpose Hall ตลาด Retail & Residential และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Riverdale District เพื่อเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ และสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ ซึ่งมีแผนงานระยะยาวประมาณ 5-10 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักธุรกิจรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก และอยู่ระหว่างการเจราจาความร่วมมือในรายละเอียด นอกจากนี้ทีมบริหารพื้นที่ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่อื่นในเครือ MBK อันได้แก่ การพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่า 38 ไร่บริเวณสามแยกบางพูนติดโรงพยาบาลเซ็นต์คารล์ลอส เป็นตลาดนัดยามเย็น สำหรับพื้นที่สีคิ้ว ได้พัฒนาพื้นที่โดยดำเนินการจัดสรรพื้นที่บางส่วนเพื่อการเช่าทำ เพื่อรองรับการเติบโตที่ยั่งยืน และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
ธุรกิจศูนย์อาหาร และบริการ
นอกจากธุรกิจผลิตและจำหน่ายข้าวสารแล้ว ทางบริษัทยังประกอบธุรกิจด้านศูนย์อาหาร มีรายละเอียดดังนี้
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK และศูนย์อาหารอิ่มจัง ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เอ็ม บี เค พูด ไอแลนด์ จำกัด (“MBK-FI”) มีทั้งหมด 3 สาขา ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สามารถเข้าถึงได้ด้วยรถไฟฟ้า BTS และ MRT รวมถึงการขนส่งสาธารณะอื่น ๆ โดยตั้งอยู่บนชั้น G และ ชั้น 6 ศูนย์การค้า MBK Center และชั้น 4 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK มีฐานมาจากแนวคิด "Capital Street Food of Bangkok” ซึ่งรวบรวมร้านค้าชื่อดังในระดับตำนาน ที่มีความหลากหลาย สด สะอาด ราคาย่อมเยาว์ โดยร้านค้าที่ได้รับการคัดสรรเป็นร้านค้า ที่อยู่ในกระแสที่ได้รับการยอมรับ และได้รับรางวัลในด้านอาหารจากหน่วยงานต่างๆเพื่อตอบสนองการให้บริการให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าของศูนย์การค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติ
ในขณะที่ศูนย์อาหารอิ่มจังมุ่งเน้นไปที่แนวคิด “อร่อยหลากหลายสบายกระเป๋า” เป็นศูนย์อาหารที่รวบรวมร้านอร่อย สะอาด ราคาเป็นมิตรเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานและผู้เช่าภายในศูนย์การค้าMBK Center
ปี 2563 ที่ผ่านมา MBK-FI ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ร้านค้าศูนย์อาหาร Food Legends by MBK โดยหมุนเวียนพันธมิตรร้านค้าและร้านอร่อยระดับตำนาน ที่ได้รับรางวัลอาหารในด้านต่างๆ อย่างเช่น สี่แยกฮ่องกง, ข้าวมันไก่ 2 สี, ก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ้นบ้านไก่ทอง, Chutney, เซ็งซิมอี้ เป็นต้น ร้านอร่อยติดลมบนที่เป็นร้านที่มีกลุ่มลูกค้าประจำและดึงดูดความสนใจด้วยชื่อเสียงความอร่อยอย่างเช่น Eat Pot, ข้าวมันไก่ซิ่วลั่ง, ราดหน้า 40 ปี เป็นต้น และร้านของทานเล่นรสดีที่คัดสรรคุณภาพและเอกลักษณ์ เข้ามาให้บริการตลอดทั้งปี 2563 เพื่อเพิ่มความหลากหลายที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
นอกจากนี้ MBK-FI ยังเล็งเห็นช่องทางในการขยายธุรกิจโดยได้เปิด “ศูนย์อาหารอิ่มจัง” บนชั้น G ศูนย์การค้า MBK Center เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานสำนักงานและผู้เช่าพื้นที่ภายในศูนย์การค้าฯ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มุ่งเน้นไปที่อาหารรสชาติอร่อย ถูกสุขลักษณะ และราคาเป็นมิตรเริ่มต้นที่ 40 บาท
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นภายในบริษัทย่อย บริษัทร่วม ในปีที่ผ่านมา
บริษัท สีมาแพค จำกัด (SMP) ลดทุนจดทะเบียนจาก 37,500,000 บาท เป็น 10,000,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้นสามัญจำนวน 275,000 หุ้น เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563
บริษัท อินโนฟูด จำกัด (INNO) ได้มีการลดทุนจดทะเบียนจาก 65,000,000 บาท เป็น 5,000,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวน 60,000,000 บาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563
เปลี่ยนชื่อบริษัทจากบริษัท พี อาร์ จี พืชผล จำกัด (PRG-G) เป็น บริษัท พี อาร์ จี พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด (PRG-P) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ให้เช่าคลังสินค้า อาคาร อุปกรณ์ และที่ดิน
บริษัท เอ็ม บี เค ฟูด แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (MBK-FE) ได้เปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นภายใน โดยบริษัทได้ดำเนินการซื้อหุ้นคืนจำนวน 25% จากทาง บริษัท แพมาลา สปา จำกัด ทำให้ MBK-FE มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563
นอกจากนั้น MBK-FE ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50,000,000 บาท เป็น 350,000,000 บาท เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
บริษัท ราชสีมาไรซ์ จำกัด (IRR) ได้มีการลดทุนจดทะเบียนจาก 300,000,000 บาท เป็น 75,000,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวน 225,000,000 บาท เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับอำนาจ ในการควบคุมบริษัทในปีที่ผ่านมา
-ไม่มี-
- ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งหมด ได้แก่ เทสโก้โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี,
-
2562
ธุรกิจข้าว
ปี 2562 ธุรกิจข้าวมีการแข่งขันสูง สืบเนื่องจากปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยลดลงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขัน ทางด้านราคาสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จากคุณภาพสินค้าและ การตื่นตัวของผู้ประกอบการในการปรับกลยุทธ์เพิ่มชนิดสินค้าข้าว ให้สอดคล้องกับการแข่งขัน และความต้องการของตลาด อาทิเช่น การเพิ่มกลุ่มข้าวพื้นนิ่ม ทำให้ไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน ในตลาดโลกจากผลของอุปสงค์และอุปทาน นี้นโยบายการลงทุน ในการจัดซื้อวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา จะเป็นปัจจัยในการสร้าง ความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละผู้ประกอบการทำให้ PRG กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง ทั้งในเรื่องแผนการ จัดซื้อวัตถุดิบ แผนการขาย กลยุทธ์ทางด้านราคา การสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความสามารถ ทางการแข่งขัน
ปี 2562 ทาง PRG ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการ สนับสนุนนโยบายการค้าของภาครัฐ โดย PRG เป็นผู้ผลิตข้าวสาร ให้กับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นตัวแทน รัฐบาลไทยในการตกลงซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government: G to G) โดยในปี2562 ได้ส่งออกไปยังประเทศจีน
ในส่วนของนโยบายการเป็น Food Solutions ให้ผู้บริโภคนั้น ทาง PRG ได้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าทางด้านอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน โดยมุ่งใช้ประสิทธิภาพ ทางด้านการขายและการตลาดในช่องทางหลักที่มีอยู่ให้เกิด ประสิทธิผลให้มากที่สุด โดยเน้นที่ ภาพลักษณ์ของสินค้าคุณภาพ ที่จัดจำหน่ายภายใต้การดำเนินงานและตราสินค้า “ข้าวมาบุญครอง” และ“มาบุญครอง พลัส” ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่น ภายใต้การดำเนินงานของ MBK GROUPในส่วนของ การดำเนินงานด้านการขายได้มีการกำหนดช่องทางเป็น 2 ช่องทาง หลักคือ ภายในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้
การขายภายในประเทศ แบ่งช่องการจำหน่ายเป็น 4 ช่องทาง
- ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งหมด ได้แก่ เทสโก้โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี,
ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต, แม็กซ์แวลู, 7-eleven, ร้านสะดวกซื้อ (Convenience stores) เป็นต้น - ช่องทางค้าส่งและค้าปลีกทั่วไป (Traditional Trade) ประกอบด้วย ร้านค้าส่ง และร้านโชห่วยทั่วประเทศ
- ช่องทางบริการด้านขายตรง (HORECA) ประกอบด้วย โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงงานอุตสาหกรรม
ผู้ที่ให้การจัดการบริการอาหารต่างๆ (Food Service) ฯลฯ - ช่องทางรับจ้างผลิต Original Equipment Manufacturer (OEM) โดยทำการรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้าให้กับธุรกิจ
ห้างค้าปลีกและหน่วยงานต่างๆ สำหรับจำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ
การขายต่างประเทศ แบ่งพื้นที่การขายเป็น 4 ส่วน
- ยุโรป และอเมริกา
- เอเชีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง
- แอฟริกา
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะด้านแปซิฟิก
ช่องทางการกระจายสินค้าจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
- กระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทฯ ที่จังหวัด ปทุมธานีสุราษฎร์ธานีและนครราชสีมา
- กระจายสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้ซื้อโดยตรง เพื่อเป็นการลด ต้นทุนค่าขนส่ง
นอกจากนี้ในส่วนของอาคารคลังสินค้าและพื้นที่ปทุมธานี ทาง PRG ได้มีนโยบายพัฒนาที่ดินปทุมธานีพื้นที่ประมาณ 77 ไร่ โดยมีแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นโครงการ Retail & Residential ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์และ สร้างรายได้ซึ่งมีแผนงานระยะยาวประมาณ 5-10 ปีสำหรับพื้นที่ สีคิ้ว ได้พัฒนาพื้นที่โดยดำเนินการทำสวนเกษตรอุตสาหกรรม และการจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ อย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเติบโตที่ยั่งยืน และเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
ธุรกิจศูนย์อาหาร และบริการ
ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ดไอแลนด์ จำกัด (“MBK-FI”) มี 2 สาขา ตั้งอยู่ บนศูนย์อาหารชั้น 6 ณ ศูนย์การค้า MBK Center และศูนย์การค้า สามย่านมิตรทาวน์ชั้น 4 บนแนวคิด “Capital Street Food of Bangkok”เป็นศูนย์อาหารที่รวบรวมร้านค้าชื่อดังในระดับตำนาน ที่มีความหลากหลายสดสะอาดราคาย่อมเยาว์โดยร้านค้าที่ได้รับ การคัดสรรเป็นร้านค้าชื่อดัง ที่อยู่ในกระแสที่ได้รับการยอมรับ และ ได้รับรางวัลในด้านอาหารจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อตอบสนองการให้ บริการให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าของศูนย์การค้า ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
ปี 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์อาหาร Food Legends by MBK ได้ทำการปรับเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงภาพลักษณ์ด้านแบรนด์ โดยทำการเปลี่ยนชื่อ ตราสินค้าและแนวคิดทางการตลาด จาก MBK Food Island ปรับเป็น “Food Legends by MBK” เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมร้านอาหารชื่อดังในระดับตำนาน มาเปิด ในศูนย์อาหารเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ อย่างต่อเนื่อง และในเดือนกันยายน 2562 ทางบริษัท ได้เปิดศูนย์ อาหารแห่งใหม่ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ชั้น 4 ภายใต้แนวคิด ศูนย์รวมอาหารระดับตำนานในย่าน สามย่าน เยาวราชและสะพาน เหลืองโดยมีพันธมิตรร้านค้าในระดับตำนาน ที่ได้รับรางวัลอาหาร ในด้านต่างๆ มาร่วมเปิดร้านค้าในศูนย์อาหาร ได้แก่ ไฮเช็งลูกชิ้น ปลา, เพ้งก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่, ครัวอัปสร, เช็งชิมอี้, ราดหน้า 40 ปี, ทูเดย์เสต็ก สามย่าน เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นภายในบริษัทย่อย บริษัทร่วม ในปีที่ผ่านมา
บริษัท เอ็ม บี เค เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (MBK-RG) ได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น ครั้งที่ 2 จากเดิมมีทุนจดทะเบียน เท่ากับ 150,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียน 270,000,000 บาท ด้วยหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 1,200,000 หุ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562
บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด ไอแลนด์ จำกัด (MBK-FI) จากเดิมมี ทุนจดทะเบียน 500,000,000 บาท เป็น 300,000,000 บาท เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2561 ของ MBK-FI เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2561
บริษัท พี อาร์ จีพืชผล จำกัด (PRG-G) จากเดิมมีทุนจด ทะเบียน 500,000,000 บาท เป็น 250,000,000 บาท โดยการ ลดมูลค่าหุ้นสามัญจากเดิมมูลค่าตราไว้หุ้นละ 6.25 บาท เป็นหุ้น ละ 31.25 บาท เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นไปตามมติ ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ของ PRG-G เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2562
บริษัท สีมาแพค จำกัด (SMP) จากเดิมมีทุนจดทะเบียน 150,000,000 บาท เป็น 37,500,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้น บุริมสิทธิจำนวน 1,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญจำนวน 112,500 หุ้น เมื่อวันที่27 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ของ SMP เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2562
อนึ่งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 ทาง SMP ได้มีการประชุม วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2562 มีมติลดทุนจดทะเบียนลงจาก 37,500,000 บาท เป็น 10,000,000 บาท โดยการลดจำนวนหุ้น สามัญจำนวน 275,000 หุ้น เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 ซึ่งเป็น ไปตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ของ SMP เมื่อวัน ที่ 8 เมษายน 2562
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับอำนาจ ในการควบคุมบริษัทในปีที่ผ่านมา
-ไม่มี-
- ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งหมด ได้แก่ เทสโก้โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี,
-
2561
พ.ศ. 2561 บริษัทฯ ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในการสนับสนุนนโยบายการค้าของภาครัฐ โดยบริษัทเป็นผู้ผลิต ข้าวสารให้กับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็น ตัวแทนรัฐบาลไทยในการตกลงซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government: G to G) โดยในปี 2561 ได้ส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศจีน ฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบาย ที่ต้องการเป็น Food Solution ให้ผู้บริโภคใน ปัจจุบันนั้น PRG ไม่ได้เจาะจงเพียงแค่การเติบโตของธุรกิจข้าว เท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมาย เพิ่มความหลากหลายของสินค้าทางด้านอาหาร
นอกจากนั้น ได้มีการพัฒนาอาคารคลังสินค้าของบริษัทฯ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้บริษัท อีกช่องทางหนึ่ง ทั้งในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานีที่เตรียมดำเนินการให้เป็นสถานที่สำหรับ จัดแสดงกิจกรรมกลางแจ้งตลอดจนเป็นศูนย์กลางธุรกิจซื้อขายเรือ ของแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่สีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่พัฒนา พื้นที่โดยดำเนินการทำสวนเกษตรอุตสาหกรรม และการจัดสรร พื้นที่ให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับ การเติบโตที่ยั่งยืนและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
ในปี 2561 บริษัท สีมาแพค จำกัด (SMP) ได้ยุติการดำเนิน กิจการผลิตและจำหน่ายถุงพลาสติก และเปลี่ยนมาดำเนินกิจการ ให้เช่าอาคารโรงงาน และเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบข้าวสารให้แก่บริษัท ในเครือ ตั้งแต่ปี 2559 และได้ขอยกเลิกการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ซึ่งได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561
สำหรับธุรกิจศูนย์อาหารและร้านอาหารในปี 2561 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
ศูนย์อาหารนานาชาติ THE FIFTH Food Avenue ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด แอนด์ เอ็นเตอร์เทน เมนท์ จำกัด (“MBK-FE”) ได้ปรับเปลี่ยนจากผู้บริหารศูนย์อาหาร เป็นผู้บริหารจัดการและให้เช่าพื้นที่พร้อมอุปกรณ์ เพื่อจำหน่าย อาหารและเครื่องดื่ม
ศูนย์อาหาร MBK Food Island ภายใต้การบริหารงาน ของ บริษัท เอ็ม บีเค ฟู้ด ไอแลนด์ จำกัด (“MBK-FI”) ได้มีการ ปรับเปลี่ยนแนวคิดของศูนย์อาหารเป็น Capital Street Food of Bangkok
ร้านอาหารญี่ปุ่น ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท อินโน ฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด (“INNO”) ได้ปรับเปลี่ยนการให้บริการใน รูปแบบ Concept “Craft Japanese Culinary” และ แบบร้าน Kiosk แบบ Quick Service Restaurant
-
2560
บริษัทฯ ได้จัดตั้ง บริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างบริษัทฯ กับ บริษัท เอ็ม บี เค โฮเต็ล แอนด์ ทัวร์ริซึ่ม จำกัด เพื่อดำเนินกิจการในการบริหารจัดการวัตถุดิบ ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป เพื่อสนับสนุนธุรกิจภายในกลุ่มบริษัท MBK Group และเพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านวัตถุดิบของบริษัทกลุ่มบริษัทฯ เป็นหลักสำคัญ
-
2559
สำหรับธุรกิจข้าวสารบรรจุถุง บริษัทฯ ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนนโยบายการค้าของภาครัฐ โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตข้าวสารให้กับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการตกลงซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government : G to G)
สำหรับธุรกิจศูนย์อาหารและร้านอาหาร ในส่วนของการดำเนินงานของ THE FIFTH Food Avenue ศูนย์อาหารชั้น 5 ลงทุนปรับปรุงศูนย์อาหารครั้งใหญ่เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้มีความทันสมัยเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการ โดยได้เพิ่มพื้นที่และความหลากหลายของร้านค้าและอาหาร และเพิ่มโซนร้านค้าในรูปแบบตลาดนัดอาหารของฝาก (Food Souvenir) และ ซื้อกลับ (Take away) เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง สำหรับ MBK Food IsLand ที่ชั้น 6 ได้เพิ่มพื้นที่ เพิ่มความหลากหลายของร้านค้าและอาหารมากขึ้น นอกจากนั้น ได้เพิ่มโซนร้านค้าในรูปแบบตลาดนัดอาหารของฝาก (Food Souvenir) และ ซื้อกลับ (Take away) เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและ สภาวะการแข่งขันในธุรกิจอาหารค่อนข้างสูงส่งผลให้บริษัทร่วมทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นนัยสำคัญ ดังนี้
- มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้แบรนด์ Fujio Shokudo
และ Tsurumaru Udon Honpo ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2559 โดย
เริ่มดำเนินการธุรกิจร้านอาหารเครือข่ายตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2559 โดย
- เปลี่ยนชื่อกิจการจาก Fujio เป็น Hina Japanese Restaurant เปิดให้บริการ 1 สาขาที่ชั้น 6 ของศูนย์การค้า MBK Center
- เปลี่ยนชื่อกิจการจาก Tsurumaru Udon Honpo เป็น Fuyuu Japanese Restaurant เปิดให้บริการ 1 สาขาที่ชั้น 1 ของศูนย์การค้า HaHa
- บริษัท อินโนฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัท ปทุมไรซ มิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้เข้าซื้อทรัพย์สินและกิจการร้านอาหารจากบริษัท เอ็ม บี เค ฟู้ด ซิสเต็ม จำกัด
สำหรับร้านสุกี้ยากี้ นัมเบอร์วัน ในปี 2559 บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการสาขาที่ 4 ที่ เอซี พลาซ่า สายไหม ทั้งนี้ ร้านสุกี้ยากี้ นัมเบอร์วัน เปิดให้บริการรวม 4 สาขา ได้แก่ ชั้น 1 ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้า เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ชั้น 2 อาคารสำนักงาน กลาสเฮ้าส์รัชดา และ ที่ เอซี พลาซ่า สายไหม
- มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้แบรนด์ Fujio Shokudo
และ Tsurumaru Udon Honpo ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2559 โดย
เริ่มดำเนินการธุรกิจร้านอาหารเครือข่ายตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2559 โดย
-
2558
บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตข้าวบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตข้าวสารให้กับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการตกลงซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government : G to G) โดยส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย
บริษัทฯ ร่วมมือกับ บริษัท ยูเรกา อะโกร แมชชีนเนอรี่ จำกัด ในการพัฒนานวัตกรรม “เครื่องกำจัดมอดและไข่มอดด้วยความร้อนแบบไดอิเล็กตริก” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมข้าวถุงไทยในการกำจัดมอดและไข่มอดเพื่อลดการใช้สารเคมี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ปรับย้ายหมวดธุรกิจของบริษัท จากหมวดธุรกิจการเกษตร (Agribusiness) เป็นหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับคำนิยามที่ปรับปรุงใหม่ เนื่องจาก บริษัทฯ มีรายได้หลักมาจากการจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออก และมีธุรกิจร้านอาหาร
-
2557
บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้น พร้อมทั้งแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จากเดิมมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เปลี่ยนแปลงเป็นมูลค่าหุ้นละ 1 บาท เป็นผลให้จำนวนหุ้นเปลี่ยนแปลงจากเดิม จำนวน 90 ล้านหุ้น เพิ่มขึ้นเป็น 900 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมีทุนจดทะเบียนจำนวน 900 ล้านบาท และทุนชำระแล้วจำนวน 600 ล้านบาท ตามเดิม
-
2556
บริษัทฯ มีแผนงานขยายธุรกิจด้านศูนย์อาหาร และร้านอาหาร โดยในปีนี้ ทางบริษัทได้เข้าไปดำเนินกิจการด้านศูนย์อาหาร 2 แห่ง คือ
- THE FIFTH food avenue ศูนย์อาหารบนชั้น 5 ของ MBK มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ ที่ต้องการความหลากหลายของสินค้าและการบริการที่แตกต่างจากศูนย์อาหารทั่วไป
- MBK Food Island ศูนย์อาหารบนชั้น 6 ของ MBK มุ่งเน้นกลุ่มคนทำงาน นักท่องเที่ยวทั้งในและ ต่างประเทศที่ชื่นชอบความหลากของสินค้า และราคาไม่สูงมาก
การดำเนินงานของทั้งสองศูนย์อาหารนั้นมีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้บริษัทสามารถตอบครอบคลุมและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกกลุ่ม
นอกจากศูนย์อาหารแล้วนั้นทางบริษัทยังได้มองเห็นถึงโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจอาหาร โดยการเข้าร่วมลงทุนดำเนินกิจการ ร้านอาหารญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ และ Fujio Food System Co., Ltd. บริษัทฯ ที่มีชื่อเสียงในด้านกิจการร้านอาหารจากประเทศญี่ปุ่น ร้านอาหารญี่ปุ่นนี้จะดำเนินการภายใต้ชื่อร้าน Fujio Shokudo และ ร้าน Tsurumaru โดยทั้งสองแบรนด์มีสาขาแรกที่ ศูนย์การค้า MBK Center ชั้น 6
-
2555
บริษัทฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน หลังจากได้หยุดดำเนินการด้านการผลิตในหลายธุรกิจ โดยหันมา เน้นการทำงานด้านการตลาด และการขายเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าภายใต้ตราสินค้าข้าว “มาบุญครอง” และ “มาบุญครอง พลัส” ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับในปีที่ผ่านมา บริษัทยังคงเน้นรูปแบบการดำเนินงานขาย โดยแบ่งออกเป็นการขายภายในประเทศซึ่งเน้นความสำคัญของแต่ละช่องทางให้ชัดเจน และการขายต่างประเทศซึ่งเน้นการแบ่งพื้นที่การขายเป็นแต่ละส่วนของโลก
เพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทได้มีการดำเนินการให้เช่าอาคารคลังสินค้า ท่าเรือ เครื่องชั่งน้ำหนักรถ และอาคารสำนักงานในพื้นที่ปทุมธานี เพื่อก่อให้เกิดรายได้อีกทางหนึ่ง
-
2554
บริษัทได้ยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป และจากการที่หยุดการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นเหตุให้ไม่มีไอน้ำในการผลิตน้ำมันรำ ซึ่งในที่สุดทางบริษัทฯ ได้หยุดผลิตน้ำมันรำ และได้ขายโรงสกัดน้ำมันรำให้แก่ผู้สนใจไปในเดือนมิถุนายน 2554
ธุรกิจโรงสี ได้มีการหยุดผลิตในเดือนกรกฎาคม 2554 ธุรกิจข้าวสารบรรจุถุง ได้ย้ายการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพข้าวสารบรรจุถุงทุกขนาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั้งหมดไปผลิตที่จังหวัดนครราชสีมา ธุรกิจแป้งข้าว ได้หยุดการผลิตแป้งผสมเพื่อส่งออกต่างประเทศ เนื่องจากไม่คุ้มต้นทุนธุรกิจโรงสกัดน้ำมันรำข้าวได้ขายโรงสกัดน้ำมันรำข้าวที่ปทุมธานี พร้อมทั้งให้เช่าพื้นที่แก่บุคคลภายนอกเพื่อนำไปทำธุรกิจสกัดน้ำมันเมล็ดปาล์ม
-
2553
ราคาผลิตภัณฑ์พลอยได้ประเภทแกลบที่บริษัทใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและภูมิภาคได้มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนไม่คุ้มทุนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ บริษัทจึงตัดสินใจหยุดการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 จนปัจจุบันนี้ และจากการที่หยุดการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นเหตุให้ไม่มีไอน้ำในการผลิตน้ำมันรำ แต่เนื่องจากธุรกิจการผลิตน้ำมันรำนั้น บริษัทได้มีแผนรองรับตั้งแต่ต้นเพื่อย้ายฐานการผลิตอยู่แล้ว จึงได้เลื่อนแผนการย้ายให้เร็วขึ้นจากที่วางแผนไว้ในเดือนธันวาคม 2553 มาทำในช่วงเวลาเดียวกันกับการหยุดผลิตกระแสไฟฟ้า
-
2552
บริษัทฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในบริษัท อินโนฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด จากเดิมบริษัทฯ ถือหุ้น 49.96% ลดลงเป็น 37.5% และกลุ่มบริษัท ธวัชชัย อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ถือหุ้น 37.5%โดยมีบริษัท ร่วมทุนสตางค์ จำกัด เข้ามาถือหุ้น 25%
-
2551
บริษัทได้รับรางวัลอันดับหนึ่งจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในสาขาธุรกิจนวัตกรรมดีเด่นประจำปีสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกหอมมะลิเสริมสุขภาพ (GABARice) ซึ่งบริษัทมีโครงการวิจัยร่วมกับบริษัท ธวัชชัย อินเตอร์ไรซ์ จำกัด โดยได้รับทุนส่งเสริมจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและเพื่อให้เกิดประโยชน์ถาวรบริษัทจึงได้จัดตั้งบริษัทย่อยร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจชื่อว่า บริษัท อินโนฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มเติมภายใต้ตราสินค้า “มาบุญครอง พลัส”
นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจอื่น ๆ บริษัทฯ ยังได้ศึกษาความเป็นไปได้การเพิ่มมูลค่าของสินค้าหลัก และสินค้าพลอยได้ เช่น การเพิ่มมูลค่าน้ำมันรำดิบให้เป็นน้ำมันรำข้าวสำเร็จรูปเพื่อประกอบอาหาร การนำเอาขี้เถ้าจากการผลิตไฟฟ้าไปผลิตสารสังเคราะห์ Zeolite เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการย้ายฐานการผลิตไปที่นครราชสีมา เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
-
2550
บริษัทฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการทำงานโดยได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพต่าง ๆ ในแต่ละธุรกิจดังนี้คือ
- ธุรกิจโรงสี ได้ดำเนินการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ในภาคใต้สำหรับรองรับการทำงาน และมีการปรับปรุงสายการผลิตในการสีข้าวหอมปทุมธานี และ ข้าวกล้อง รวมทั้งพัฒนาการสีให้มีผลผลิตที่ดีขึ้นด้วยการลดอุณหภูมิระหว่างการสี
- ธุรกิจข้าวถุง ได้ดำเนินการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการคัดและปรับปรุงคุณภาพข้าว โดยได้ลงทุนเพิ่มในการซื้อเครื่องคัดและปรับปรุงคุณภาพรุ่นใหม่ เพื่อลดต้นทุนการสูญเสียและเพิ่มคุณภาพและผลผลิต และลงทุนซื้อเครื่องบรรจุขนาดเล็กแบบอัตโนมัติในการลดค่าแรงงาน
- ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ได้ลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์กราเวียร์ชนิด 8 สี เครื่องทำซอง และเครื่องกรอและตัด เพื่อรองรับการผลิตตามความหลากหลายของบรรจุภัณฑ์ในตลาดที่ลูกค้าต้องการ
- ธุรกิจไฟฟ้าได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการคิดค่าไฟฟ้าจากระบบ TOD (Time of Demand) มาเป็น TOU (Time of Use) ทำให้มีการลดต้นทุนค่าดีมานด์เดิม และเพื่อรองรับการขายไฟฟ้าในอัตราใหม่ในเดือนธันวาคม 2550 ทั้งยังได้ศึกษาถึงแหล่งพลังงานชนิดอื่น ๆ ในการรองรับการแข่งขันสำหรับอนาคต
-
2549
บริษัทฯ ได้เปลี่ยนระบบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของบริษัทประจำปี 2549 คือ “ปีแห่งประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการทำงาน เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ” และวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ “ผู้นำธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปครบวงจรจากข้าว และจัดจำหน่ายข้าวบรรจุถุงพร้อมผลิตภัณฑ์แปรรูปทุกชนิดจากข้าว โดยใช้เครือข่ายความสัมพันธ์แบบผลประโยชน์ร่วมพันธมิตรธุรกิจในการขยายตัวสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องและเกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค” ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้เปลี่ยนแปลงระบบการดำเนินงานใหม่ให้มีความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มธุรกิจต่างๆ ดังนี้ กลุ่มธุรกิจโรงสี กลุ่มธุรกิจข้าวถุง กลุ่มธุรกิจน้ำมันรำและรำสกัด กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าและขี้เถ้า
กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจแป้งข้าว กลุ่มธุรกิจส่งออก และกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ โดยทั้ง 8 กลุ่มธุรกิจอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน)
และนอกจากนี้บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) เพิ่มผลิตภัณฑ์แป้งที่ทำจากข้าวต่าง ๆ ได้แก่ แป้งข้าวหอมมะลิ แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ตรา “มาบุญครอง” และแป้งชุบทอดกรอบ ตรา “มาบุญครอง” รวมถึงเพิ่มผลิตภัณฑ์ข้าวสารหอมมะลิที่เพิ่มคุณค่าจากธรรมชาติ ด้วยผักและธัญพืชต่าง ๆ ในตรา “ข้าวมาบุญครอง พลัส”
-
2548
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบโล่รางวัลให้กับบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตข้าวสารหอมมะลิ ตรามาบุญครอง (สีแดง) และตราจัสมินโกลด์ ซึ่งเป็นรางวัลการผลิตข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุงที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอโดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานรูปมือพนมของกรมการค้าภายใน ประจำปี 2548 จัดโดยกรมการค้าภายในร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2548
-
2547
บริษัท พีอาร์จี พืชผล จำกัด (ถือหุ้นโดยบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) 99.99%) ได้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงจากแกลบ เพื่อขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2545 เป็นต้นมา ได้ประสบปัญหาการจัดเก็บแกลบเพื่อเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากพื้นที่การจัดเก็บมีน้อย ดังนั้นในปีนี้ทางบริษัทได้จัดทำลานเก็บแกลบเพิ่มเติมจากเดิมที่เคยเก็บแกลบได้เพียง 200 ตัน เป็นเก็บได้ 5,000 ตัน ทำให้ความเสี่ยงจากการขาดแกลบมีน้อยลง และโรงไฟฟ้าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าขายได้อย่างสม่ำเสมอขึ้น นอกจากนี้การที่มีเนื้อที่จัดเก็บแกลบเพิ่มขึ้นยังจะช่วยให้บริษัทสามารถซื้อแกลบในช่วงที่ราคาถูกมาเก็บตุนได้มากขึ้น ทำให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายเรื่องแกลบได้มาก
กลุ่มบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการเลิกบริษัทในเครือสองบริษัท คือ บริษัท พีอาร์จี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด และบริษัท สุรนารี ไซโล จำกัด เนื่องจากทั้งสองบริษัทไม่ได้ดำเนินกิจการใด ๆ มาหลายปี แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายด้านค่าสอบบัญชีอยู่ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ต่อไป ดังนั้นจึงได้เลิกบริษัทในงวดปีบัญชีนี้
-
2546
บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้หยุดการผลิตข้าวสารบรรจุถุงของบริษัท ราชสีมาไรซ์ จำกัด เพื่อลดค่าขนส่ง, ค่าไฟฟ้า, และค่าดำเนินการต่าง ๆ โดยได้ทำการหยุดผลิตตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 โดยทำการผลิตที่โรงงานปทุมธานีแทนเพียงแห่งเดียว และจัดทำโครงการร่วมใจจาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานลาออกจากงานด้วยความสมัครใจ โดยได้รับผลประโยชน์ที่เหมาะสมเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อสิ้นสุดโครงการมีพนักงานลาออกไปทั้งสิ้น 156 คน บริษัทฯ คาดว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและคุ้มกับค่าใช้จ่ายในการนี้ภายใน 3 ปี
-
2545
บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนโฆษณาโดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 27 ล้านบาท เพื่อตอกย้ำให้ผู้บริโภคนึกถึงข้าวมาบุญครองเป็นอันดับแรก เมื่อต้องการซื้อข้าวถุง นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขยายส่วนแบ่งการตลาด โดยได้ปรับปรุงคุณภาพข้าวถุงหอมมะลิให้มีคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่ง โดยได้เปลี่ยนเกรดข้าวถุงหอมมะลิ(เขียว) จากคุณภาพข้าว 5% เป็นข้าว 100 % ชั้น 2 และเปลี่ยนเกรดข้าวถุงหอมมะลิ(ทอง) จากคุณภาพ 100% ชั้น 2 เป็นข้าว 100 % ชั้น 1 การเปลี่ยนแปลงคุณภาพข้าวให้ดีขึ้นนี้ ทางบริษัทฯ หวังผลในระยะยาวว่าผู้บริโภคจะพอใจในคุณภาพของสินค้ามากกว่าเดิม และมีใจผูกพันกับสินค้าตลอดไป
-
2544
บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้ใบรับรอง HALAL เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 และได้ใบรับรอง GMP และ HACCP เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 ส่วนของโรงผลิตแป้ง ได้รับ ISO 9002 : 1994 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2544 ใบรับรอง HALAL เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2544 และใบรับรอง GMP และ HACCP เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545
บริษัท ราชสีมาไรซ์ จำกัด ได้รับ ISO 9002 : 1994 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 ใบรับรอง HALAL เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2544 และใบรับรอง GMP และ HACCP เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544
บริษัท สีมาแพค จำกัด ได้รับ ISO 9002 : 1994 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2544
-
2543
คณะกรรมการของบริษัทฯ ได้อนุมัติโครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อที่นอกจากจะผลิตไฟฟ้าและไอน้ำเพื่อใช้เองแล้วยังสามารถขายไฟฟ้าที่เหลือใช้ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้อีกด้วย โครงการนี้มูลค่าประมาณ 265 ล้านบาท โดยเริ่มเปิดดำเนินการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2545 และบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้รับ ISO9002:1994 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543
-
2542
คณะกรรมการของบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน ได้อนุมัติให้สร้างโรงงงานผลิตแป้งข้าวเจ้าขึ้นบนที่ดินของบริษัทฯ ที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในวงเงินงบประมาณ 90 ล้านบาท โรงงานผลิตแป้งข้าวเจ้านี้จะใช้วัตถุดิบคือปลายข้าว จากโรงสีข้าวของบริษัทเอง
-
2541
บริษัท สุรนารี ไซโล จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัท พีอาร์จี พืชผล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) 99.99% ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกิจการอบพืชและไซโลประเภท 1.22
บริษัท สีมาแพค จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) 50% ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตถุงพลาสติกประเภท 6.12 เพื่อเป็นผู้ผลิตถุงข้าวให้กับกลุ่มบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) โดยเริ่มเปิดดำเนินการผลิตและจำหน่ายสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541
-
2539-2540
บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อที่ดินที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นจำนวนประมาณ 286 ไร่ และได้เริ่มก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เพื่อใช้งานในโครงการคัดคุณภาพข้าวสาร และปี 2540 ได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ราชสีมาไรซ์ จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) 99.99% เพื่อรับโอนกิจการคัดคุณภาพข้าวสารจากบริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ตามบัตรส่งเสริมเลขที่ 1625/2538 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2538 ทั้งนี้ได้เริ่มเปิดดำเนินการผลิตและจำหน่ายสินค้าตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2540
-
2538
บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในโครงการคัดคุณภาพข้าวสาร มูลค่าประมาณ 166 ล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 100,000 ตันต่อปี
-
2535-2536
บริษัท มาบุญครองพืชผล จำกัด สร้างไซโลเหล็กเพื่อใช้ในการเก็บบรรจุข้าวเปลือกขนาดบรรจุ 10,000 ตัน และในปี 2536 สร้างบอยเลอร์ขนาด 20 ตัน เพิ่มเติมจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว 35 ตัน เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในบริษัท และผลิตขี้เถ้าส่งออก และได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท พีอาร์จี พืชผล จำกัด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536
บริษัท มาบุญครองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท พีอาร์จี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536
บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด ได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2536 และได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536
-
2534
บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการขาย โดยรับโอนธุรกิจการจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงพลาสติก จากบริษัทในเครือ คือ บริษัท มาบุญครองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด มาทำการจำหน่ายเอง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ต่อมาได้ขายหุ้นในบริษัท ศรีราชา ไซโล จำกัด ให้แก่บริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ส์ แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ในราคาเท่ากับเงินลงทุนคือ 400 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 เนื่องจากเล็งเห็นว่าธุรกิจด้านคลังสินค้า และขนถ่ายสินค้าไม่สอดคล้องกับธุรกิจการสีข้าว และจัดจำหน่ายข้าวสารของบริษัทฯ
-
2533
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ขายหุ้นให้กับกลุ่มบริษัทเงินทุนธนชาต และกลุ่มท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ซึ่งได้ส่งตัวแทนเข้ามาบริหารงานของกลุ่มมาบุญครองทั้งหมด และบริษัทฯ ได้เข้าไปถือหุ้นใน 3 บริษัท ดังต่อไปนี้
- บริษัท มาบุญครองพืชผล จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการอบพืช โดยถือหุ้นสัดส่วน 99.99% ของทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 723.68 บาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท) คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 108.54 ล้านบาท เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533
- บริษัท มาบุญครองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งดำเนินการเป็นผู้จัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงพลาสติกยี่ห้อ “ข้าวมาบุญครอง” โดยถือหุ้นในสัดส่วน 99.88% ของทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 297.60 บาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 2.97 ล้านบาท เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533
- บริษัท ศรีราชา ไซโล จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เทพสุดา จำกัด) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านคลังสินค้าและรับบริการขนถ่ายสินค้าด้วยสายพานขนาดใหญ่สู่เรือบรรทุกสินค้าในทะเลน้ำลึก ตั้งที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยถือหุ้นสัดส่วน 99.99% ของทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 400 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2533
ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยให้ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ส แอนด์ ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด) ซึ่งถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ จำกัด กลุ่มคุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย และกลุ่มประชาชนรายย่อยทั่วไป เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2533 และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด”
-
2530-2532
กลุ่มบริษัท มาบุญครองที่มี นายศิริชัย บูลกุล เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นผู้บริหาร ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง จนทำให้บรรดาเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินต่าง ๆ ต้องเข้ามาควบคุมกิจการของกลุ่ม ซึ่งรวมทั้ง บริษัท มาบุญครองไรซมิล จำกัด ด้วย ในปี 2531 ได้มีการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ในกลุ่มของธุรกิจโรงสี ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ได้เข้ามาประมูลซื้อหุ้นทั้งหมด
-
2530
ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทผลิตภัณฑ์ดีเด่นจากหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ และได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทส่งเสริมวัฒนธรรม จากการประกวดการโฆษณายอดเยี่ยมจากสมาคมนักโฆษณาแห่งประเทศไทย
-
2529
ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค การทำตลาดดีเด่นจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
2527
บริษัทฯ ได้ให้บริษัท มาบุญครองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด จำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงพลาสติกขนาด 2 และ 5 กิโลกรัม โดยมุ่งเน้นตลาดผู้บริโภคภายในประเทศภายใต้เครื่องหมายการค้า “ข้าวมาบุญครอง” ซึ่งเป็นข้าวถุงตราแรกที่ประสบความสำเร็จและผู้บริโภคให้ความเชื่อถือ
-
2524
บริษัทฯ ได้เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2524 โดยโรงสีเริ่มดำเนินการผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิต 1,000 ตันต่อวัน ผลิตและจำหน่ายข้าวสารทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ ในรูปแบบบรรจุกระสอบ โดยเริ่มส่งไปยังฮ่องกงเป็นประเทศแรก
-
2523
เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 10 ล้านบาท เป็น 40 ล้านบาท เพื่อลงทุนในอาคารสิ่งก่อสร้างเครื่องจักร และได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
-
2522
บริษัทฯ ได้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ “บริษัท มาบุญครองไรซมิล จำกัด” เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2522 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท โดยกลุ่มของนายศิริชัย บูลกุล มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นโรงสีข้าวที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในทวีปเอเซีย